เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 3. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงพูดเกี้ยวมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบเล่า โมฆบุรุษ เรา
แสดงธรรมโดยประการต่าง ๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด ฯลฯ
เราบอกการระงับความกลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่าง ๆ มิใช่หรือ โมฆบุรุษ
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้
ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ

[284] ก็ภิกษุใดถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตแปรปรวน พูดเกี้ยวมาตุคาม
ด้วยวาจาชั่วหยาบ พาดพิงเมถุน เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว เป็น
สังฆาทิเสส

เรื่องพระอุทายี จบ

สิกขาบทวิภังค์

[285] คำว่า ก็...ใด คือผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ถูกราคะครอบงำแล้ว คือ มีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่
คำว่า แปรปรวน ความว่า จิตกำหนัดแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตโกรธแล้ว
ชื่อว่าแปรปรวนบ้าง จิตหลงแล้วชื่อว่าแปรปรวนบ้าง แต่จิตกำหนัดแล้ว พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์ว่า แปรปรวน ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมีย แต่เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถรับรู้ถ้อยคำสุภาษิต ทุพภาษิต คำ
หยาบและคำสุภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 1 หน้า :316 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [2. สังฆาทิเสสกัณฑ์] 3. ทุฎฐุลลวาจาสิกขาบท บทภาชนีย์

วาจาที่ชื่อว่า ชั่วหยาบ ได้แก่ ถ้อยคำที่พาดพิงเมถุนธรรมทางทวารหนัก
ทวารเบา
คำว่า พูดเกี้ยว นี้ ท่านเรียกความประพฤติล่วงเกิน
คำว่า เหมือนชายหนุ่มพูดเกี้ยวหญิงสาว ได้แก่ หนุ่มพูดเกี้ยวสาว ชายวัย
รุ่นพูดเกี้ยวหญิงวัยรุ่น คือ ชายผู้บริโภคกามพูดเกี้ยวหญิงผู้บริโภคกาม
คำว่า พาดพิงเมถุน ได้แก่ ถ้อยคำเกี่ยวกับเมถุนธรรม
คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินี้ สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส”

บทภาชนีย์
มาติกา

ภิกษุพูดชมบ้าง พูดติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอนบ้าง ถามบ้าง ถามซ้ำบ้าง บอกบ้าง
สอนบ้าง ด่าบ้าง พาดพิงทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า พูดชม คือ พูดชมเชย พรรณนา พูดสรรเสริญทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า พูดติ คือ พูดข่ม พูดเสียดสี พูดติเตียนทวารทั้งสอง
ที่ชื่อว่า ขอ คือ พูดว่า “จงให้แก่เรา ควรให้แก่เรา”
ที่ชื่อว่า อ้อนวอน คือ พูดว่า “เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรบิดา
ของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเทวดาของเธอจักเลื่อมใส เมื่อไรเธอจะมีขณะดี มีลยะดี มี
ครู่ดี เมื่อไรเราจะได้เสพเมถุนธรรมกับเธอ”
ที่ชื่อว่า ถาม คือ ถามว่า “เธอให้แก่สามีอย่างไรหรือให้แก่ชายชู้อย่างไร”
ที่ชื่อว่า ถามซ้ำ คือ สอบถามว่า “ทราบว่า เธอให้แก่สามีอย่างนี้ ให้แก่ชายชู้
อย่างนี้หรือ”
ที่ชื่อว่า บอก คือ พอถูกถามจึงบอกว่า “เธอจงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้
จะเป็นที่รักใคร่พอใจของสามี”